วันศุกร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

แหล่งทรัพยากรประเภทบุคคล

โวล์ฟกัง อะมาเดอุส โมซาร์ท นักประพันธ์เพลงคลาสสิคชั้นยอดของโลก


               โวล์ฟกัง อะมาเดอุส โมซาร์ท (Wolfgang Amadeus Mozart) 27 มกราคม ค.ศ.1756 เป็นนักประพันธ์ดนตรีคลาสสิกชาวออสเตรียที่มีชื่อเสียงก้องโลก โมซาร์ทเกิดที่เมืองซัลสบูร์ก เขามีงานประพันธ์เพลง 700 ชิ้นรวมทั้งโอเปร่า (ดนตรีซึ่งมีเนื้อเรื่อง) ชื่อ ดอน โจวานนี (Don Giovanni) และ ขลุ่ยวิเศษ (Die Zauberflöte) ปัจจุบันผลงานต่าง ๆ ของเขาได้ถูกนำมาจัดจำหน่ายเป็นสื่อต่าง ๆ มากมาย ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 1791

                โมซาร์ทเป็นบุตรของนักประพันธ์เพลงชาวเยอรมัน เลโอโปลด์ โมซาร์ท (ค.ศ. 1719 - ค.ศ. 1787) รองประธานโบสถ์ในความอุปถัมภ์ของเจ้าชายอาร์คบิชอปแห่งซัลสบูร์ก (Salzburg) กับแอนนา มาเรีย เพิร์ต (Anna Maria Pert) (ค.ศ. 1720 - ค.ศ. 1778) โวล์ฟกัง อมาเด (โมซาร์ทมักจะเรียกตนเองว่า "Wolfgang Amadè Mozart" ไม่เคยถูกเรียกว่า อมาเดอุส ตลอดช่วงเวลาที่เขายังมีชีวิตอยู่ ไม่แม้กระทั่งในรายการบันทึกของพิธีศีลจุ่ม โดยได้รับชื่อละตินว่า "Joannes Chrysostomus Wolfgangus Theophilus Mozart" ) ได้แสดงได้เห็นอัจฉริยภาพทางดนตรี ก่อนวัยอันควร ตั้งแต่อายุสามขวบ เขามีหูที่ยอดเยี่ยม และความจำที่แม่นยำ ความสามารถพิเศษยิ่งยวด ทำให้เป็นที่น่าฉงนแก่ผู้คนรอบข้าง และเป็นแรงกระตุ้นให้บิดาของเขาให้สอนฮาร์ปซิคอร์ดแก่เขา ตั้งแต่อายุห้าขวบ โมซาร์ทน้อยเรียนไวโอลินและออร์แกน เป็นเครื่องดนตรีชิ้นต่อมา ตามด้วยวิชาเรียบเรียงเสียงประสาน เขารู้จักการแกะโน้ตจากบทเพลงที่ได้ยิน และเล่นทวนได้อย่างถูกต้อง ตั้งแต่วัยยังไม่รู้จักอ่านเขียนและนับเลข เมื่ออายุหกขวบ (ค.ศ. 1762) เขาก็แต่งเพลงชิ้นแรกได้แล้ว (เมนูเอ็ต KV.2, 4 และ 5 และ อัลเลโกร KV.3)

                เขาได้รับการแต่งตั้ง จากเจ้าชายอาร์คบิชอป ให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการคอนเสิร์ต บิดาของเขาได้ขอลาพักงาน โดยไม่รับเงินเดือนเพื่อพาเขาไปท่องเที่ยวที่ประเทศอิตาลี ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1769 ถึง ค.ศ. 1773 โมซาร์ทได้เดินทางไปประเทศอิตาลีหลายครั้งเพื่อไปศึกษาเกี่ยวกับโอเปร่า อันเป็นรูปแบบดนตรีที่เขาใช้ประพันธ์ การแต่งงานของฟิกาโร (Le Nozze di Figaro) ,ดอน โจวานนี ,โคสิ ฟาน ตุตเต้ ,ขลุ่ยวิเศษ (Die Zauberflöte) ฯลฯ เขาสามารถนำเสียงดนตรีอันสูงส่งเหล่านี้ออกมาสู่โลกได้ จากใส่ใจในความกลมกลืนของเสียงร้อง และ ความสามารถในการควบคุมเสียง อันเกิดจากเครื่องดนตรีหลากชิ้น
                โชคไม่ดีที่ ในวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 1771 เจ้าชายอาร์คบิชอปแห่งแชรตเตนบาคได้สิ้นชีพิตักษัย เจ้าชายอาร์คบิชอปแห่งโคลโลเรโดได้กลายมาเป็นนายจ้างคนใหม่ของเขา
                โมซาร์ทไม่มีความสุขที่บ้านเกิดของเขา เนื่องจากนายจ้างใหม่ ไม่ชอบให้เขาออกไปเดินทางท่องเที่ยว และยังบังคับรูปแบบทางดนตรี ที่เขาได้ประพันธ์ให้กับพิธีทางศาสนา เมื่อมีอายุได้ 17 ปี เขาไม่ยินดีที่จะยอมรับข้อบังคับนี้ ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างเขากับอาร์คบิชอป เสื่อมถอยลงในอีกสามปีต่อมา โชคดีที่เขาได้รู้จักกับ โยเซฟ เฮย์เด้น ซึ่งก็ได้มาเป็นเพื่อนโต้ตอบทางจดหมาย และเป็นเพื่อนที่ดีต่อกันตลอดชีวิต

                ในปีค.ศ. 1781โมซาร์ทเดินทางไปยังกรุงเวียนนากับเจ้าชายอาร์คบิชอปแห่งโคลโลเรโด ผู้ได้เลิกจ้างโมซาร์ทที่เวียนนา โมซาร์ทจึงตั้งรากฐานอยู่ที่เวียนนา เมื่อเห็นว่าชนชั้นสูงเริ่มชอบใจในตัวเขา และในปีเดียวกันนั้น โมซาร์ทได้แต่งงานกับคอนสแตนซ์ วีเบอร์ (นักร้อง(โซปราโน) ซึ่งเป็นน้องสาวของ อลอยเซีย วีเบอร์ ซึ่งโมซาร์ทเคยหลงรัก) โดยที่บิดาของโมซาร์ทไม่เห็นด้วยกับงานวิวาห์นี้ โมซาร์ทและคอนสแตนซ์มีลูกด้วยกันถึงหกคน ซึ่งเพียง 2 คนรอดพ้นวัยเด็ก

                ปีค.ศ. 1782เป็นปีที่ดีสำหรับโมซาร์ท โอเปร่าเรื่อง Die Entführung aus dem Serail ประสบความสำเร็จอย่างมาก และโมซาร์ทก็ได้แสดงคอนเสิร์ต ชุดที่เขาเล่นในเปียโนคอนแซร์โตของเขาเอง

                ระหว่างปีค.ศ. 1782 - ค.ศ. 1783 โมซาร์ทได้รับอิทธิพลจากผลงานของบราค และแฮนเดลผ่านบารอนก็อตตเฟร็ด วอน สวีเทน(Baron Gottfried van Swieten) แนวเพลงของโมซาร์ทจึงได้รับอิทธิพลจากยุคบารอคตั้งแต่นั้นมา อย่างที่เห็นได้ชัดในท่อนฟิวก์ของ ขลุ่ยวิเศษ และซิมโฟนี หมายเลข 41
                ในช่วงนี้เองโมซาร์ทได้มารู้จักและสนิทสนมกับโยเซฟ เฮเด้น โดยทั้งสองมักจะเล่นในวงควอเตทด้วยกัน และโมซาร์ทก็ยังเขียนควอเตทถึงหกชิ้นให้เฮเด้น เฮเด้นเองก็ทึ่งในความสามารถของโมซาร์ท และเมื่อได้พบกับลีโอโปล์ด พ่อของโมซาร์ท ได้กล่าวกับเขาว่า "ต่อหน้าพระเจ้าและในฐานะคนที่ซื่อสัตย์ ลูกของท่านเป็นนักประพันธ์ที่ดีที่สุดที่ผมเคยได้พบหรือได้ยิน เขามีรสนิยม และมากกว่านั้น เขามีความรู้เรื่องการประพันธ์" เมื่อโมซาร์ทอายุมากขึ้น เขาก็ได้รับอิทธิพลจากนักปราชญ์แห่งศตวรรษที่ 18 และเป็นฟรีเมสันที่อยู่ในสาขาโรมัน คาทอลิค โอเปร่าสุดท้ายของโมซาร์ทแสดงถึงอิทธิพลฟรีเมสันนี้

                ชีวิตของโมซาร์ทมักพบกับปัญหาทางการเงินและโรคภัยไข้เจ็บ โมซาร์ทย่อมไม่ได้รับค่าจ้างสำหรับงานของเขา และเงินที่เขาได้รับนั้นก็ถูกผลาญด้วยวิถีชีวิตที่หรูหราอลังการ

                บั้นปลายและการเสียชีวิตของโมซาร์ทยังคงเป็นเรื่องที่หาข้อสรุปยากสำหรับนักวิชาการ เพราะมีทั้งตำนานและเรื่องเล่าแต่ขาดหลักฐาน มีทฤษฏีหนึ่งสันนิษฐานว่าสุขภาพของโมซาร์ทเริ่มแย่ลงทีละเล็กทีละน้อย และโมซาร์ทเองก็รับรู้สภาพนี้ซึ่งปรากฏขึ้นในงานประพันธ์ของเขา แต่นักวิชาการที่ไม่เห็นด้วยอ้างถึงจดหมายที่โมซาร์ทเขียนถึงครอบครัว ที่ยังมีทัศนะคติที่สดใส และปฏิกิริยาของครอบครัวเมื่อได้ข่าวเรื่องการเสียชีวิตของโมซาร์ท การเสียชีวิตของโมซาร์ทยังเป็นเรื่องที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ ใบมรณภาพของโมซาร์ทบันทึกไว้ว่าเขาเสียชีวิตเพราะ"ไข้ไทฟอยด์" และมีทฤษฎีมากมายที่พยายามอธิบายการเสียชีวิตให้ละเอียดมากขึ้น ชกาลที่ โมซาร์ทเสียชีวิตในเวลาประมาณ 01.00 น. วันที่ 5 เดือนธันวาคม ปีค.ศ. 1791 ในขณะที่เขากำลังประพันธ์เพลงเรเควียม ที่ประพันธ์ไม่เสร็จ ตามตำนานที่เล่าลือ โมซาร์ทตายโดยที่ไม่เหลือเงินและถูกฝังในหลุมศพของคนอนาถา ร่างของโมซาร์ทถูกฝังอย่างเร่งรีบในที่ฝังศพสาธารณะ เพราะระหว่างที่นำศพไปนั้นเกิดมีพายุแรงและฝน ลูกเห็บตกอย่างหนัก ทำให้หีบศพถูกหย่อนไว้ร่วมกับศพคนยากจนอื่นๆ ไม่มีเครื่องหมายใดว่านี่คือศพของโมซาร์ท
                โมซาร์ทมีชีวิตอยู่ตรงกับระหว่างรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ สมัยอยุธยา และพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมัยรัตนโกสินทร์



บทเพลงสุดท้ายของเขาคือ   Requiem mass  




                       http://www.youtube.com/watch?v=JoR4jeB6OI0

ของเล่นพื้นบ้าน

ชื่อของเล่น : กังหันลม
ขั้นตอนการผลิต :

ตัดกระดาษให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส  พับให้เป็นสามเหลี่ยมด้านตรงข้ามกันสองครั้ง  จะได้รอยกากบาทดังรูป  ตัดตามรอยพับขึ้นมา 3 ใน 4 ส่วน เจาะรูตรงกลาง และมุมกระดาษตามที่วงกลมไว้


นำลวดทิ่มผ่านรูกลางขึ้นมา  ใส่ลูกปัดลงไป 1 ลูก

ค่อยๆจับปลายกระดาษทั้ง 4 ด้าน ที่เจาะรูจิ้มผ่านลวดตรงกลาง ต้องใช้นิ้วมากดตรงกลางด้านบนไว้ 



ใส่หลอดที่ตัดมา ความยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ตามด้วยลูกปัด ดัดลวดลงมาเพื่อให้ไม่หลุด

ลวดที่เหลือด้านหลังใส่ลูกปัดก่อน ตามด้วยหลอดยาว  ดัดลวดตรงปลายส่วนที่เหลือขึ้นมา
พันเก็บให้สวยงาม ดัดลวดตรงคอกันหันลมให้งอลง

จะได้กังหันลมตามรูป
สถานที่ผลิต : หอสามสี




วัสดุการผลิต :

 1. กระดาษเหลือใช้
                        2. ลวด
                        3. กรรไกร,คัดเตอร์
                        4. ลูกปัด
                        5. ก้านลูกโป่ง
                        6. ดินสอ,ไม้บรรทัด
แหล่งข้อมูลได้มาจากใคร นายอาจหาญ สงวนหงษ์
วิธีเล่น : ให้เป่าตรงกลางกังหันลม กังหันลมจะหมุน หรืออาจจะเอาไปโต้ลมเล่นก็ได้
วิธีการซ่อมแซมถ้าเสียหาย :  
1.            ถ้ากระดาษที่ทำเป็นใบพัดของกังหันขาด ให้เปลี่ยนกระดาษใหม่ ทำตามวิธีเดิม

2.            ถ้าลวดหลุดให้ทิ่มลวดเข้าไปที่เดิม

ห้องสมุดประชาชนอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก

ห้องสมุดประชาชนอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก

1.             จากแหล่งการเรียนรู้ต้นแบบให้แบ่งประเภทของแหล่งการเรียนรู้ดังกล่าวว่าจัดอยู่ในประเภทใด
ห้องสมุดประชาชนอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก เป็นแหล่งการเรียนรู้ประเภทสถานที่

 2. จากแหล่งการเรียนรู้ตัวอย่าง ให้นิสิตประเมินแหล่งการเรียนรู้ในประเด็นดังนี้
                2.1 อะไร คือ องค์ความรู้ของแหล่งการเรียนรู้นั้น ๆ สถานที่ตั้ง/ความเป็นมา/ ส่วนในการนำเสนอ/ภาพประกอบ
ในปี  พ.ศ. 2538  รัฐบาลได้กำหนดนโยบายสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ให้เป็นปีพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  ดังนั้นเพื่อเป็นการสนองนโยบายของรัฐบาล  อำเภอบางระกำร่วมกับพ่อค้าและประชาชน ได้จัดหาเงินสมทบสร้างอาคารห้องสมุดประชาชนอำเภอบางระกำ จำนวน 250,000 บาท  และกรมการศึกษานอกโรงเรียนได้อนุมัติเงินงบประมาณ จำนวน 826,000 บาท รวมเป็นเงิน 1,076,000 บาท  โดยขอใช้ที่ดินสุขาภิบาลอำเภอบางระกำในการจัดสร้าง
ห้องสมุดประชาชนอำเภอบางระกำเริ่มเปิดให้บริการแก่ประชาชนทั่วไป  ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2538  เป็นต้นมา ปัจจุบันห้องสมุดประชาชนได้ย้ายที่ทำการ มาเปิดให้บริการ แก่นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ณ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางระกำ (อาคาร ตึกช้าง) ติดกับปั้มเชลล์ ใกล้กับวัดสุนทรประดิษฐ์ เพื่อความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการมากยิ่งขึ้น

ที่ตั้งของห้องสมุดประชาชนอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก



ถนนราชดำเนิน ต.ในเมือง อ.เมืองพิษณุโลก จ.พิษณุโลก 65000

              2.2 ใคร คือ กลุ่มเป้าหมายหลัก/กลุ่มผู้เรียนหลัก 
นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป
              2.3 วิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนแต่ละกลุ่ม 
                              2.3.1 รูปแบบ / วิธีการ / เทคนิคการนำเสนอ  
                                     - เน้นการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป
                                    
- ส่งเสริมให้ทุกคนที่เข้าไปใช้ห้องสมุดรักการอ่าน
                             2.3.2 วิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และกลุ่มผู้เรียน 
                                       - มีการย้ายสถานที่ตั้งใหม่ เพื่ออำนวยความสะดวกสบายแก่นักเรียนนักศึกษาและ 
                                       ประชาชน

                                    - ปรับปรุงและพัฒนาให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ตามอัธยาศัย
                              2.3.3 การเชื่อมโยงกับการศึกษา ในระบบ นอกระบบ ตามอัธยาศัย
                                    
1. จัดการศึกษาตามอัธยาศัย
                                   -  บริการหนังสือ และสื่อการเรียนรู้
                                   - บริการการอ่าน และส่งเสริมการอ่าน
                                     2.  ส่งเสริมการศึกษานอกระบบ
                                   - บริการสื่อการเรียนการสอนการศึกษานอกระบบ
                                   - บริการ สถานที่ ฯลฯ
                                3. ศูนย์ข้อมูลชุมชน
                                   - บริการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร
                                   - บริการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร
                                   - บริการข้อมูลแหล่งเรียนรู้

              2.4 กลุ่มเป้าหมาย/ผู้เรียน เรียนรู้เพื่ออะไร 
                              2.4.1 ความรู้ ความเข้าใจ
                                      มีหนังสือและสื่อการเรียนรู้ต่างๆบริการให้กับนักเรียน นักศึกษา และประชาชน
                              2.4.2 ทักษะ 
                                     รู้จักวิธีการค้นหาหนังสือที่ต้องการโดยให้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์
                              2.4.3 อาชีพ 
                                     เป็นแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้กับประชาชน
                              2.4.4 ความบันเทิง สันทนาการ
                                    ห้องสมุดมีหนังสือหมวดนวนิยาย ซึ่งเป็นหมวดที่ให้ความบันเทิงแก่ผู้อ่าน


แหล่งอ้างอิง  http://bangrakamnfe.blogspot.com/2013/05/blog-post_9099.html
                       http://map.longdo.com/p/A10007661/view#!/p/A10007661/info