วันเสาร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2556

กิจกรรมที่ 13

กิจกรรมที่ 13
1. ในการใช้แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ในอนาคตมี วัตถุประสงค์กี่ประการอะไรบ้าง
 ตอบ ในการใช้แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ในอนาคตมีวัตถุประสงค์อยู่ 4 ประการ
1. ตอบสนองความต้องการในการเรียนรู้เพื่อทักษะแห่งอนาคตใหม่ในศตวรรษที่ 21
2. ตอบสนองความทันสมัยและการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
3. ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของหลักสูตร และสาระการเรียนรู้
4. ตอบสนองการเรียนรู้รายบุคคลบนโลกสังคมออนไลน์

2. ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 คืออะไร 
ตอบ ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 คือ ความสามารถ สมรรถนะที่ต้องมีในแต่ละบุคคลเพื่อให้สามารถปรับตัว และด าเนินชีวิตท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิตในสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และ
เทคโนโลยีในช่วงปี ค.ศ.2001-2100

3. บทบาทของผู้สอนยุคใหม่ในการใช้แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้เป็นอย่างไร 
ตอบ  บทบาทของครูยุคใหม่ในศตวรรษที่ 21 ผู้อำนวยความสะดวกในการใช้แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้
ผู้คอยชี้แนะและกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดองค์ความรู้ด้วยตนเอง
เสนอแนวทางให้ค้นคว้าหาความรู้
อำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนได้ออกแบบและนำเสนอความรู้อย่างสร้างสรรค์
สร้างแนวทางและชี้แนะให้ผู้เรียนวิเคราะห์ สังเคราะห์ความรู้ด้วยตนเอง และแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ประเมินจากสภาพจริงและผลงานจากการปฏิบัติ
สวมบทบาทเป็นพี่เลี้ยง ที่คอยอำนวยความสะดวกมาให้
กำหนดกิจกรรมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและยืดหยุ่นในการเรียนรู้ตามขอบเขตที่กำหนดไว้
ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการกำหนดวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้
- เสนอแนะให้ผู้เรียนใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการแสวงหาความรู้
 มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้/ประสบการณ์ตรงจากผู้เรียนก่อให้เกิดทักษะในการแสวงหาความรู้

4. เทคนิควิธีการสอนแบบโครงงานในการใช้แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้มีกี่ประเภทอะไรบ้าง
ตอบ ประเภทของวิธีสอนแบบโครงงาน มี 3 ประเภท ได้แก่
1 การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานตามวัตถุประสงค์ของเนื้อหาสาระการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้นั้น ๆ กล่าวคือ เป็นลักษณะการจัดการเรียนรู้ที่มีเป้าหมายโดยกิจกรรมต่าง ๆ ผู้สอนนั้นต้องวางแผนให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ทักษะการคิด ทักษะการสื่อสารและความร่วมมือ ทัศนคติ ค่านิยม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
2. การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานตามความสนใจของผู้เรียน กล่าวคือ เป็นลักษณะการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนนั้นเป็นผู้วางแผน และระดมสมองเพื่อกำหนดขั้นตอนการท าโครงงานของผู้เรียนโดยที่ผู้เรียน
นั้นทำตามความต้องการ และความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน หรือกลุ่ม โดยมีเป้าหมายเดียวกันคือเป็นการบูรณาการทักษะ ความรู้ เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้และทักษะต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

3. การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานผสมผสานบูรณาการแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้อื่น ๆ และเทคโนโลยีการศึกษา กล่าวคือ เป็นลักษณะการจัดการเรียนรู้ที่ผู้สอนได้น าหลักการแนวคิดทฤษฎีการศึกษา การเรียนรู้ และเทคโนโลยีการศึกษา เช่น การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานผ่านสื่อสังคมออนไลน์ด้วยการน าตนเอง การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานตามแนวคิดจิตตปัญญา การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานผ่านคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต เป็นต้น

วันพฤหัสบดีที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2556

แนวโน้มของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

1.ให้นิสิตบอกวิธีการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศจากแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ตอบ การเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศ
ข้อมูลสารสนเทศบนเครือข่ายนั้นมีมากมายมหาศาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครือข่ายอินเทอร์เน็ตซึ่งเป็นเทคโนโลยีเครือข่ายที่สามารถเชื่อมต่อสัญญาณที่ใหญ่ที่สุดในโลก ดังนั้นในการเชื่อมต่อสัญญาณระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้ก็สามารถเข้าถึงแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ข้อมูลสารสนเทศได้ทั่วโลก โดยสามารถเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศได้ดังนี้
1.ใช้โปรแกรมค้นดูเว็บ หรือโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ (Web Browser) คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่งที่ผู้ใช้สามารถสืบค้นข้อมูลสารสนเทศและปฏิสัมพันธ์กับข้อมูลสารสนเทศดังกล่าวซึ่งได้มีการจัดระบบในการให้บริการบนเว็บไซต์ซึ่งอาจจะมีการออกแบบและเขียนเว็บไซต์ดังกล่าวด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ เช่น ภาษา HTML (Hyper Text Markup Language) ภาษา CSS (ย่อมาจาก Cascading Style Sheets) หรือภาษา XHTML (ย่อมาจาก Extensible HyperText Markup Language) เป็นต้น ส าหรับโปรแกรม Web Browser ที่ได้รับความนิยมทั้งในอดีตและในปัจจุบัน เช่น Internet Explorer Mozilla Firefox และ Google Chrome เป็นต้น


สัญลักษณ์ของตัวอย่างโปรแกรม Web Browser

2. ใช้โปรแกรมช่วยในการสืบค้นข้อมูล (Search Engine) หรือทับศัพท์ เสิร์ชเอนจินซึ่งเป็นโปรแกรมในการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศต่าง ๆ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและระบบเว็บไซต์ต่าง ๆ เพื่อเข้าถึงเว็บไซต์ข้อมูลที่ต้องการค้นหา ซึ่งผู้ใช้สามารถสืบค้นข้อมูลสารสนเทศได้ทั้งข้อความ รูปภาพ สื่อมัลติมิเดีย ภาพเคลื่อนไหว วีดิโอ หรือข้อมูลสารสนเทศอื่น ๆ ตัวอย่างโปรแกรมช่วยในการสืบค้นข้อมูลที่ให้บริการ ได้แก่ http://www.google.com นิยมมากที่สุด


หน้าเว็บไซต์ของ http://www.google.co.th



2.URL คืออะไร มีประโยชน์อย่างไรกับ แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ตอบ  เว็บไซต์ที่สร้างขึ้นมานั้นจะจัดเก็บไว้ที่ระบบบริการเว็บหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์หรือระบบคลังข้อมูลอื่น ๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเครื่องมือในการติดต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ตขนาดใหญ่ที่เรียกว่า เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web : WWW) โดยผู้ใช้สามารถระบุที่อยู่ของทรัพยากรบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เรียกว่า URLs (Uniform Resource Locators) ซึ่งมีส่วนประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่
1. โปรโตคอล (Protocal) คือ แหล่งที่อยู่ของทรัพยากรซึ่งโปรโตคอลพื้นฐานสาหรับโปรแกรมค้นดูเว็บ คือ http
2. ชื่อโดเมน (Domain name) คือ ชื่อที่ใช้เรียกเพื่อระบุลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อไปค้นหาในระบบ เพื่อระบุถึง ไอพีแอดเดรส (IP-Address) ของชื่อดังกล่าว ซึ่งมีผู้จดทะเบียนระบุให้กับผู้ใช้เพื่อเข้ามายังเว็บไซต์ของตน บางครั้งเราอาจจะใช้ "ที่อยู่เว็บไซต์" แทนก็ได้ เช่น www.buu.ac.th, www.ch3.com เป็นต้น ซึ่งชื่อโดเมนนี้จะมีการจัดประเภทของหน่วยงานบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ดังนั้นผู้เข้าถึงข้อมูลสารสนเทศจึงจาเป็นต้องรู้ชื่อโดเมนส่วนสุดท้ายซึ่งจะมีการคั่นด้วยมหัพภาค (.) หรือจุด (Dot) ซึ่งเรียกโดเมนส่วนสุดท้ายนี้ว่า ชื่อโดเมนในระดับบนสุด (Top Level Domain : TLD)


ส่วนประกอบของที่อยู่เว็บไซต์ (URL) ในการใช้โปรแกรมค้นดูเว็บ


3. หลักการวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของแหล่งแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ข้อมูลสารสนเทศบนเว็บไซต์เครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีอะไรบ้าง
ตอบ  ข้อมูลสารสนเทศบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้นมีมากมายมหาศาลซึ่งในการสืบค้นข้อมูลนั้นต้องใช้วิจารณญาณเพื่อการตรวจสอบและประเมินเพื่อเลือกใช้ข้อมูลสารสนเทศได้อย่างเหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุดในการนาไปใช้ ดังนั้นประเด็นในการวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูลสารสนเทศบนเว็บไซต์เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ประกอบด้วย 3 ประเด็น วัตถุประสงค์ความต้องการในการนาข้อมูลสารสนเทศไปใช้ คุณภาพของเว็บไซต์ที่ใช้ในการเผยแพร่ และเนื้อหาที่ใช้ในการเผยแพร่ ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. ประเมินวัตถุประสงค์ความต้องการในการนาข้อมูลสารสนเทศไปใช้ ประกอบด้วย
1.1 ผู้ใช้ต้องวิเคราะห์ความต้องการของตนในการนาข้อมูลสารสนเทศไปใช้
1.2 ผู้ใช้แยกแยะประเด็น และเลือกหัวข้อที่ต้องการสืบค้น
 2. พิจารณาด้านคุณภาพเว็บไซต์ที่ใช้ในการเผยแพร่ ได้แก่
2.1 ข้อมูลสารสนเทศบนเว็บไซต์ดังกล่าวถูกเผยแพร่ตามวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ใน เว็บไซต์หรือไม่
2.2 ข้อมูลสารสนเทศดังกล่าวนั้นเป็นสาระเนื้อหาตรงตามวัตถุประสงค์ใน การสร้าง หรือเผยแพร่ข้อมูลของเว็บไซต์หรือไม่
2.3 เว็บไซต์ดังกล่าวได้ให้ที่อยู่ e-mail address ในการให้ผู้อ่านติดต่อ สอบถามหรือไม่ หรือสามารถติดต่อผู้ดูแลเว็บไซต์ได้หรือไม่
2.4 เว็บไซต์ดังกล่าวสามารถเชื่อมโยง (link) ไปยังเว็บไซต์อื่นที่อ้างถึง ได้หรือไม่
2.5 เว็บไซต์ดังกล่าวมีการปรับปรุงข้อมูลสารสนเทศบนเว็บไซต์อย่างต่อเนื่องหรือไม่
2.6 เว็บไซต์ดังกล่าวมีช่องทางให้ผู้อ่านแสดงความคิดเห็น
2.7 เว็บไซต์ดังกล่าวมีข้อความเตือนผู้อ่านให้ใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจ ใช้ข้อมูลที่ปรากฏบนเว็บไซต์
2.8 เว็บไซต์ดังกล่าวควรมีการระบุข้อความว่า เป็นเว็บไซต์ส่วนตัวหรือระบุแหล่งที่ให้การสนับสนุนในการสร้างเว็บไซต์
2.9 เว็บไซต์ดังกล่าวมีข้อความเตือนผู้อ่านให้ใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจ ใช้ข้อมูลที่ปรากฏบนเว็บไซต์
3. พิจารณาด้านเนื้อหาข้อมูลสารสนเทศบนเว็บไซต์ที่นาเสนอ ได้แก่
3.1 ข้อมูลสารสนเทศดังกล่าวมีการบอกแหล่งที่มาของข้อมูลหรือมีการอ้างอิง
เนื้อหาที่นำเสนอบนเว็บไซต์หรือไม่
3.2 เนื้อหามีการระบุวันเวลาในการเผยแพร่ข้อมูลบนเว็บไซต์
                3.3 เนื้อหาเว็บไซต์ไม่ขัดต่อกฎหมาย ศีลธรรม และจริยธรรม
3.4 เนื้อหาข้อมูลสารสนเทศระบุวันเวลาในการปรับปรุงข้อมูลครั้งล่าสุดหรือไม่
3.5 เนื้อหาดังกล่าวในข้อมูลสารสนเทศมีการระบุชื่อผู้เขียนบทความหรือผู้ให้ข้อมูลบนเว็บไซต์
หรือไม่
3.6 คุณภาพของเนื้อหาสาระในการเขียนเนื้อหาข้อมูลสารสนเทศบนเว็บไซต์ มีความถูกต้อง
3.7 เนื้อหาสารสนเทศบนเว็บไซต์ดังกล่าวไม่มีความลาเอียงในการนาเสนอสาระ หรือการแสดงความคิดเห็น โดยควรใช้ข้อเท็จจริงในการสนับสนุนการวิจารณ์หรือแสดงความคิดเห็นดังกล่าว



4.Virtual Field Trip คืออะไร
ตอบ  การศึกษานอกสถานที่เสมือนจริง หมายถึง เป็นการจาลองแบบสถานการณ์ให้ใกล้เคียงกับสถานการณ์จริงหรือสถานที่จริงด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทาให้ผู้เรียนได้เห็นจริงและเข้าใจง่าย



5.จงบอกความหมายของพิพิธภัณฑ์เสมือนจริง พร้อมยกตัวอย่างด้วยการทำ Link  เว็บพิพิธภัณฑ์เสมือนจริงมาคนละ 1 เว็บไซต์
ตอบ  พิพิธภัณฑ์เสมือนจริง (Virtual  museum)  คือรูปแบบของการจัดนิทรรศการของพิพิธภัณฑ์ดั้งเดิมที่
ได้ถูกเปลี่ยนแปลงให้สามารถดึงดูดความสนใจให้มีผู้เข้าชมและเรียนรู้  โดยอาศัยความก้าวหน้าของ
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์  ระบบการสื่อสารและอินเทอร์เน็ต  มาสร้างสื่อมัลติมีเดียหรือสื่อผสม  ให้เป็น
ภาพ  3  มิติ  อาจเป็นภาพนิ่งหรือเคลื่อนไหวก็ได้  ดูภาพได้ทุกทาง  อาจมีเสียง  คำบรรยายประกอบ  หรือ
เป็นวีดิทัศน์สั้น ๆ ให้ผู้ชมรู้สึกเสมือนอยู่ในสถานที่จริง  เป็นการประหยัดเวลา  พลังงาน  งบประมาณจาก
การที่ต้องไปชมสถานที่จริง  และยังชดเชยได้ในเรื่องของการดูวัตถุด้วยการหมุนวัตถุ  สามารถดูใกล้ ๆ ได้
(คาวานอห์, 2549, หน้า 1)  
        พิพิธภัณฑ์เสมือนจริงช่วยสนับสนุนการเรียนรู้  ได้เติมเต็มความรู้ของผู้ชม  ผู้ศึกษาไม่ว่าจะเป็นนิสิตนักศึกษา  ประชาชน  หรือผู้สนใจทั่วไป  เรื่องหรือกิจกรรมจากพิพิธภัณฑ์เสมือนจริง  สามารถเรียนรู้ได้  อาจนำไปปฏิบัติจริงได้  จากกระบวนการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้วยรูปแบบกระบวนการต่าง ๆ ของการถ่ายทอด 
         พิพิธภัณฑ์เสมือนจริงมีความน่าในใจที่จะนำมาใช้เป็นสื่อสนับสนุนการเรียนรู้  คือ  สนับสนุนให้ผู้ใช้กระตือรือร้นที่จะได้เรียนรู้ด้วยตนเอง  ช่วยอนุรักษ์และเผยแพร่นำเสนอทรัพยากรของท้องถิ่น  พิพิธภัณฑ์เสมือนจริงเป็นสื่อผสมหลายสาขาวิชาที่กระตุ้นประสาทสัมผัสด้วยความเคลื่อนไหว  ทำให้ผู้ใช้มีโอกาสใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้  ซึ่งก่อให้เกิดการรู้จักคิดได้หลายรูปแบบ  และสนับสนุนการเรียนรู้ให้สดชื่นมีชีวิตชีวา
องค์ประกอบของพิพิธภัณฑ์เสมือนจริง ที่ใช้กันอยู่โดยทั่วไป มีดังนี้
1.  ชุดของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่สร้างภาพจำลองแบบหลายมิติ  ให้ผู้ใช้รู้สึกเสมือนอยู่ในสภาวการณ์จริง (QTVR - Quicktme Virtual Reality)  ซึ่งเป็นเครื่องมือชี้นำผู้ใช้ได้รู้สึกเสมือนหนึ่งกำลังเดินอยู่ในสถานที่จริง
2.  กล้องถ่ายภาพสำหรับถ่ายภาพวัสดุต่าง ๆ ตามแต่จะกำหนด
3.  ระบบการถ่ายภาพยนตร์ในภาพกว้างที่สามารถดูได้ในแต่ละส่วน  อาจต่อเนื่องกันในห้องถ่ายภาพยนตร์ซึ่งใช้ชุดของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เดียวกัน (QTVRS)
4.  ใส่อักษรตามลำดับพยัญชนะ (A - Z )  เพื่อลำดับหัวข้อในการเข้าถึงและสืบค้นด้วยฐานข้อมูลที่ช่วยการสืบค้น
5.  การนำชมต้องอาศัยส่วนประกอบคือ  โครงสร้างการบรรยายด้วยตัวอักษรตามหัวข้อและขอบเขต  การวาดภาพรวม และโครงสร้างของภาพต่าง ๆ
        สรุปคือ  พิพิธภัณฑ์เสมือนจริงทำให้งานพิพิธภัณฑ์เข้าสู่ระบบออนไลน์  ด้วยรูปแบบของนิทรรศการในลักษณะ 3 มิติ  ด้วยชุดโปรแกรมเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (QVTR) ซึ่งทำให้ผู้ใช้รู้สึกเสมือนอยู่ในสถาวการณ์จริง  การสร้างความเคลื่อนไหวขึ้นอยู่กับกระบวนการเตรียมเนื้อหาที่เอื้อให้ผู้ออกแบบโปรแกรม  สามารถสร้างลักษณะเสมือนจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยเทคโนโลยีการนำเสนอที่ทำให้ผู้ใช้มีปฏิสัมพันธ์กับเนื้อหาอย่างตื่นเต้นและเกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง
         พิพิธภัณฑ์เสมือนจริงสามารถใช้เป็นเครื่องมือถ่ายทอดเทคโนโลยีในเรื่องต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ให้นักเรียน  นิสิตนักศึกษา  ประชาชนผู้เกี่ยวข้องและผู้สนใจทั่วไป  ช่วยทำให้ผู้เรียนหรือผู้รับการถ่ายทอดสนใจในเรื่องที่กำลังศึกษาด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเกิดความเข้าใจจนสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง
        ในปัจจุบันพิพิธภัณฑ์เสมือนจริงได้เข้ามามีบทบาทบนหน้าเว็บไซต์ของหลายองค์การและหน่วยงาน  ด้วยชุดกรรมวิธีของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์  (QTVR-Quicktime  Virtual  Reality)  โครงสร้างภาพต่าง ๆ และมีชุดของวิธีการสืบค้นไว้ด้วย


6. จงบอกความหมายของเทคโนโลยี AR มีประโยชน์อย่างไรในการเป็นแหล่งการทรัพยากรการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
ตอบ  1.เทคโนโลยีเสมือนจริง หรือเรียกสั้น ๆ ว่าเทคโนโลยี AR” (Augmented Reality) เป็นเทคโนโลยีที่ผสมผสานเอาโลกในความเป็นจริงและโลกเสมือนที่สร้างขึ้นมาผสานเข้าด้วยกันผ่านซอฟต์แวร์และอุปกรณ์เชื่อมต่อต่าง ๆ เป็นการสร้างข้อมูลอีกข้อมูลหนึ่งที่เป็นส่วนประกอบบนโลกเสมือน (virtual world) เช่น ภาพกราฟิก วิดีโอ รูปทรงสามมิติ และข้อความ ตัวอักษร ให้ผนวกซ้อนทับกับภาพในโลกจริงที่ปรากฏบนกล้อง

เทคโนโลยี AR แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
-แบบที่ใช้ภาพสัญลักษณ์
-แบบที่ใช้ระบบพิกัดในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อสร้างข้อมูลบนโลกเสมือนจริง
2. โปรแกรมที่ใช้ในการออกแบบ Model 3 มิติ สามารถสร้างงานเขียนแบบหรือภาพจาลองได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว แม้ว่าผู้ที่ไม่มีประสบการณ์ในการทางานโปรแกรม 3 มิติมาก่อน ก็สามารถที่จะเรียนรู้ และลองหัดสร้าง Model 3 มิติด้วยเครื่องมือที่มีให้ในโปรแกรมได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว Sketchup ถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัท @Last ในปี ค..1999 ซึ่งมีเป้าหมายที่จะ
-พัฒนาโปรแกรมออกแบบ Model 3 มิติ โดยมี Interface ที่เรียบง่ายและใช้งานสะดวก
-ให้ผู้ใช้งานสนุกกับการสร้างและออกแบบ
-ทำให้ผู้ออกแบบมีลูกเล่นในส่วนของงานออกแบบและนาเสนอ โดยที่โปรแกรมอื่นๆ ไม่สามารถทำได้
ปัจจุบัน Sketch Up ได้ถูกแบ่งออกเป็น 2 ระดับด้วยกันคือ ระดับ Personal Use และแบบมือโปรที่เป็น Professional Use ซึ่งก็คือ Google Sketch Up และ Sketch Up Pro นั่นเอง โดยจุดที่แตกต่างกันของทั้งสองประเภทก็คือ การส่งออกไฟล์การสร้าง Interactive Presentations และการพิมพ์ (Print) ที่มีความละเอียด (Resolutions) ที่แตกต่างกัน Sketch Up Pro ก็จะมีทุกอย่างที่สมบูรณ์แบบ แต่ใน Google Sketch Up ก็จะมีเท่าที่จำเป็น

ที่น่าสนใจก็คือ Sketch Up มีฟังก์ชั่นสาหรับการ Get Models และ Share Models โดยที่สามารถนาไฟล์ชิ้นงานสามมิติที่มีผู้อื่นได้ทาไว้แล้ว หรือที่เราได้สร้างขึ้นนาไปแบ่งปันกันผ่านระบบเครือข่าย โดยสร้างระบบคลังข้อมูลขึ้นมาภายใต้ชื่อว่า 3D Warehouse

วันศุกร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

แหล่งทรัพยากรประเภทบุคคล

โวล์ฟกัง อะมาเดอุส โมซาร์ท นักประพันธ์เพลงคลาสสิคชั้นยอดของโลก


               โวล์ฟกัง อะมาเดอุส โมซาร์ท (Wolfgang Amadeus Mozart) 27 มกราคม ค.ศ.1756 เป็นนักประพันธ์ดนตรีคลาสสิกชาวออสเตรียที่มีชื่อเสียงก้องโลก โมซาร์ทเกิดที่เมืองซัลสบูร์ก เขามีงานประพันธ์เพลง 700 ชิ้นรวมทั้งโอเปร่า (ดนตรีซึ่งมีเนื้อเรื่อง) ชื่อ ดอน โจวานนี (Don Giovanni) และ ขลุ่ยวิเศษ (Die Zauberflöte) ปัจจุบันผลงานต่าง ๆ ของเขาได้ถูกนำมาจัดจำหน่ายเป็นสื่อต่าง ๆ มากมาย ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 1791

                โมซาร์ทเป็นบุตรของนักประพันธ์เพลงชาวเยอรมัน เลโอโปลด์ โมซาร์ท (ค.ศ. 1719 - ค.ศ. 1787) รองประธานโบสถ์ในความอุปถัมภ์ของเจ้าชายอาร์คบิชอปแห่งซัลสบูร์ก (Salzburg) กับแอนนา มาเรีย เพิร์ต (Anna Maria Pert) (ค.ศ. 1720 - ค.ศ. 1778) โวล์ฟกัง อมาเด (โมซาร์ทมักจะเรียกตนเองว่า "Wolfgang Amadè Mozart" ไม่เคยถูกเรียกว่า อมาเดอุส ตลอดช่วงเวลาที่เขายังมีชีวิตอยู่ ไม่แม้กระทั่งในรายการบันทึกของพิธีศีลจุ่ม โดยได้รับชื่อละตินว่า "Joannes Chrysostomus Wolfgangus Theophilus Mozart" ) ได้แสดงได้เห็นอัจฉริยภาพทางดนตรี ก่อนวัยอันควร ตั้งแต่อายุสามขวบ เขามีหูที่ยอดเยี่ยม และความจำที่แม่นยำ ความสามารถพิเศษยิ่งยวด ทำให้เป็นที่น่าฉงนแก่ผู้คนรอบข้าง และเป็นแรงกระตุ้นให้บิดาของเขาให้สอนฮาร์ปซิคอร์ดแก่เขา ตั้งแต่อายุห้าขวบ โมซาร์ทน้อยเรียนไวโอลินและออร์แกน เป็นเครื่องดนตรีชิ้นต่อมา ตามด้วยวิชาเรียบเรียงเสียงประสาน เขารู้จักการแกะโน้ตจากบทเพลงที่ได้ยิน และเล่นทวนได้อย่างถูกต้อง ตั้งแต่วัยยังไม่รู้จักอ่านเขียนและนับเลข เมื่ออายุหกขวบ (ค.ศ. 1762) เขาก็แต่งเพลงชิ้นแรกได้แล้ว (เมนูเอ็ต KV.2, 4 และ 5 และ อัลเลโกร KV.3)

                เขาได้รับการแต่งตั้ง จากเจ้าชายอาร์คบิชอป ให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการคอนเสิร์ต บิดาของเขาได้ขอลาพักงาน โดยไม่รับเงินเดือนเพื่อพาเขาไปท่องเที่ยวที่ประเทศอิตาลี ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1769 ถึง ค.ศ. 1773 โมซาร์ทได้เดินทางไปประเทศอิตาลีหลายครั้งเพื่อไปศึกษาเกี่ยวกับโอเปร่า อันเป็นรูปแบบดนตรีที่เขาใช้ประพันธ์ การแต่งงานของฟิกาโร (Le Nozze di Figaro) ,ดอน โจวานนี ,โคสิ ฟาน ตุตเต้ ,ขลุ่ยวิเศษ (Die Zauberflöte) ฯลฯ เขาสามารถนำเสียงดนตรีอันสูงส่งเหล่านี้ออกมาสู่โลกได้ จากใส่ใจในความกลมกลืนของเสียงร้อง และ ความสามารถในการควบคุมเสียง อันเกิดจากเครื่องดนตรีหลากชิ้น
                โชคไม่ดีที่ ในวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 1771 เจ้าชายอาร์คบิชอปแห่งแชรตเตนบาคได้สิ้นชีพิตักษัย เจ้าชายอาร์คบิชอปแห่งโคลโลเรโดได้กลายมาเป็นนายจ้างคนใหม่ของเขา
                โมซาร์ทไม่มีความสุขที่บ้านเกิดของเขา เนื่องจากนายจ้างใหม่ ไม่ชอบให้เขาออกไปเดินทางท่องเที่ยว และยังบังคับรูปแบบทางดนตรี ที่เขาได้ประพันธ์ให้กับพิธีทางศาสนา เมื่อมีอายุได้ 17 ปี เขาไม่ยินดีที่จะยอมรับข้อบังคับนี้ ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างเขากับอาร์คบิชอป เสื่อมถอยลงในอีกสามปีต่อมา โชคดีที่เขาได้รู้จักกับ โยเซฟ เฮย์เด้น ซึ่งก็ได้มาเป็นเพื่อนโต้ตอบทางจดหมาย และเป็นเพื่อนที่ดีต่อกันตลอดชีวิต

                ในปีค.ศ. 1781โมซาร์ทเดินทางไปยังกรุงเวียนนากับเจ้าชายอาร์คบิชอปแห่งโคลโลเรโด ผู้ได้เลิกจ้างโมซาร์ทที่เวียนนา โมซาร์ทจึงตั้งรากฐานอยู่ที่เวียนนา เมื่อเห็นว่าชนชั้นสูงเริ่มชอบใจในตัวเขา และในปีเดียวกันนั้น โมซาร์ทได้แต่งงานกับคอนสแตนซ์ วีเบอร์ (นักร้อง(โซปราโน) ซึ่งเป็นน้องสาวของ อลอยเซีย วีเบอร์ ซึ่งโมซาร์ทเคยหลงรัก) โดยที่บิดาของโมซาร์ทไม่เห็นด้วยกับงานวิวาห์นี้ โมซาร์ทและคอนสแตนซ์มีลูกด้วยกันถึงหกคน ซึ่งเพียง 2 คนรอดพ้นวัยเด็ก

                ปีค.ศ. 1782เป็นปีที่ดีสำหรับโมซาร์ท โอเปร่าเรื่อง Die Entführung aus dem Serail ประสบความสำเร็จอย่างมาก และโมซาร์ทก็ได้แสดงคอนเสิร์ต ชุดที่เขาเล่นในเปียโนคอนแซร์โตของเขาเอง

                ระหว่างปีค.ศ. 1782 - ค.ศ. 1783 โมซาร์ทได้รับอิทธิพลจากผลงานของบราค และแฮนเดลผ่านบารอนก็อตตเฟร็ด วอน สวีเทน(Baron Gottfried van Swieten) แนวเพลงของโมซาร์ทจึงได้รับอิทธิพลจากยุคบารอคตั้งแต่นั้นมา อย่างที่เห็นได้ชัดในท่อนฟิวก์ของ ขลุ่ยวิเศษ และซิมโฟนี หมายเลข 41
                ในช่วงนี้เองโมซาร์ทได้มารู้จักและสนิทสนมกับโยเซฟ เฮเด้น โดยทั้งสองมักจะเล่นในวงควอเตทด้วยกัน และโมซาร์ทก็ยังเขียนควอเตทถึงหกชิ้นให้เฮเด้น เฮเด้นเองก็ทึ่งในความสามารถของโมซาร์ท และเมื่อได้พบกับลีโอโปล์ด พ่อของโมซาร์ท ได้กล่าวกับเขาว่า "ต่อหน้าพระเจ้าและในฐานะคนที่ซื่อสัตย์ ลูกของท่านเป็นนักประพันธ์ที่ดีที่สุดที่ผมเคยได้พบหรือได้ยิน เขามีรสนิยม และมากกว่านั้น เขามีความรู้เรื่องการประพันธ์" เมื่อโมซาร์ทอายุมากขึ้น เขาก็ได้รับอิทธิพลจากนักปราชญ์แห่งศตวรรษที่ 18 และเป็นฟรีเมสันที่อยู่ในสาขาโรมัน คาทอลิค โอเปร่าสุดท้ายของโมซาร์ทแสดงถึงอิทธิพลฟรีเมสันนี้

                ชีวิตของโมซาร์ทมักพบกับปัญหาทางการเงินและโรคภัยไข้เจ็บ โมซาร์ทย่อมไม่ได้รับค่าจ้างสำหรับงานของเขา และเงินที่เขาได้รับนั้นก็ถูกผลาญด้วยวิถีชีวิตที่หรูหราอลังการ

                บั้นปลายและการเสียชีวิตของโมซาร์ทยังคงเป็นเรื่องที่หาข้อสรุปยากสำหรับนักวิชาการ เพราะมีทั้งตำนานและเรื่องเล่าแต่ขาดหลักฐาน มีทฤษฏีหนึ่งสันนิษฐานว่าสุขภาพของโมซาร์ทเริ่มแย่ลงทีละเล็กทีละน้อย และโมซาร์ทเองก็รับรู้สภาพนี้ซึ่งปรากฏขึ้นในงานประพันธ์ของเขา แต่นักวิชาการที่ไม่เห็นด้วยอ้างถึงจดหมายที่โมซาร์ทเขียนถึงครอบครัว ที่ยังมีทัศนะคติที่สดใส และปฏิกิริยาของครอบครัวเมื่อได้ข่าวเรื่องการเสียชีวิตของโมซาร์ท การเสียชีวิตของโมซาร์ทยังเป็นเรื่องที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ ใบมรณภาพของโมซาร์ทบันทึกไว้ว่าเขาเสียชีวิตเพราะ"ไข้ไทฟอยด์" และมีทฤษฎีมากมายที่พยายามอธิบายการเสียชีวิตให้ละเอียดมากขึ้น ชกาลที่ โมซาร์ทเสียชีวิตในเวลาประมาณ 01.00 น. วันที่ 5 เดือนธันวาคม ปีค.ศ. 1791 ในขณะที่เขากำลังประพันธ์เพลงเรเควียม ที่ประพันธ์ไม่เสร็จ ตามตำนานที่เล่าลือ โมซาร์ทตายโดยที่ไม่เหลือเงินและถูกฝังในหลุมศพของคนอนาถา ร่างของโมซาร์ทถูกฝังอย่างเร่งรีบในที่ฝังศพสาธารณะ เพราะระหว่างที่นำศพไปนั้นเกิดมีพายุแรงและฝน ลูกเห็บตกอย่างหนัก ทำให้หีบศพถูกหย่อนไว้ร่วมกับศพคนยากจนอื่นๆ ไม่มีเครื่องหมายใดว่านี่คือศพของโมซาร์ท
                โมซาร์ทมีชีวิตอยู่ตรงกับระหว่างรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ สมัยอยุธยา และพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมัยรัตนโกสินทร์



บทเพลงสุดท้ายของเขาคือ   Requiem mass  




                       http://www.youtube.com/watch?v=JoR4jeB6OI0

ของเล่นพื้นบ้าน

ชื่อของเล่น : กังหันลม
ขั้นตอนการผลิต :

ตัดกระดาษให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส  พับให้เป็นสามเหลี่ยมด้านตรงข้ามกันสองครั้ง  จะได้รอยกากบาทดังรูป  ตัดตามรอยพับขึ้นมา 3 ใน 4 ส่วน เจาะรูตรงกลาง และมุมกระดาษตามที่วงกลมไว้


นำลวดทิ่มผ่านรูกลางขึ้นมา  ใส่ลูกปัดลงไป 1 ลูก

ค่อยๆจับปลายกระดาษทั้ง 4 ด้าน ที่เจาะรูจิ้มผ่านลวดตรงกลาง ต้องใช้นิ้วมากดตรงกลางด้านบนไว้ 



ใส่หลอดที่ตัดมา ความยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ตามด้วยลูกปัด ดัดลวดลงมาเพื่อให้ไม่หลุด

ลวดที่เหลือด้านหลังใส่ลูกปัดก่อน ตามด้วยหลอดยาว  ดัดลวดตรงปลายส่วนที่เหลือขึ้นมา
พันเก็บให้สวยงาม ดัดลวดตรงคอกันหันลมให้งอลง

จะได้กังหันลมตามรูป
สถานที่ผลิต : หอสามสี




วัสดุการผลิต :

 1. กระดาษเหลือใช้
                        2. ลวด
                        3. กรรไกร,คัดเตอร์
                        4. ลูกปัด
                        5. ก้านลูกโป่ง
                        6. ดินสอ,ไม้บรรทัด
แหล่งข้อมูลได้มาจากใคร นายอาจหาญ สงวนหงษ์
วิธีเล่น : ให้เป่าตรงกลางกังหันลม กังหันลมจะหมุน หรืออาจจะเอาไปโต้ลมเล่นก็ได้
วิธีการซ่อมแซมถ้าเสียหาย :  
1.            ถ้ากระดาษที่ทำเป็นใบพัดของกังหันขาด ให้เปลี่ยนกระดาษใหม่ ทำตามวิธีเดิม

2.            ถ้าลวดหลุดให้ทิ่มลวดเข้าไปที่เดิม

ห้องสมุดประชาชนอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก

ห้องสมุดประชาชนอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก

1.             จากแหล่งการเรียนรู้ต้นแบบให้แบ่งประเภทของแหล่งการเรียนรู้ดังกล่าวว่าจัดอยู่ในประเภทใด
ห้องสมุดประชาชนอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก เป็นแหล่งการเรียนรู้ประเภทสถานที่

 2. จากแหล่งการเรียนรู้ตัวอย่าง ให้นิสิตประเมินแหล่งการเรียนรู้ในประเด็นดังนี้
                2.1 อะไร คือ องค์ความรู้ของแหล่งการเรียนรู้นั้น ๆ สถานที่ตั้ง/ความเป็นมา/ ส่วนในการนำเสนอ/ภาพประกอบ
ในปี  พ.ศ. 2538  รัฐบาลได้กำหนดนโยบายสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ให้เป็นปีพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  ดังนั้นเพื่อเป็นการสนองนโยบายของรัฐบาล  อำเภอบางระกำร่วมกับพ่อค้าและประชาชน ได้จัดหาเงินสมทบสร้างอาคารห้องสมุดประชาชนอำเภอบางระกำ จำนวน 250,000 บาท  และกรมการศึกษานอกโรงเรียนได้อนุมัติเงินงบประมาณ จำนวน 826,000 บาท รวมเป็นเงิน 1,076,000 บาท  โดยขอใช้ที่ดินสุขาภิบาลอำเภอบางระกำในการจัดสร้าง
ห้องสมุดประชาชนอำเภอบางระกำเริ่มเปิดให้บริการแก่ประชาชนทั่วไป  ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2538  เป็นต้นมา ปัจจุบันห้องสมุดประชาชนได้ย้ายที่ทำการ มาเปิดให้บริการ แก่นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ณ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางระกำ (อาคาร ตึกช้าง) ติดกับปั้มเชลล์ ใกล้กับวัดสุนทรประดิษฐ์ เพื่อความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการมากยิ่งขึ้น

ที่ตั้งของห้องสมุดประชาชนอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก



ถนนราชดำเนิน ต.ในเมือง อ.เมืองพิษณุโลก จ.พิษณุโลก 65000

              2.2 ใคร คือ กลุ่มเป้าหมายหลัก/กลุ่มผู้เรียนหลัก 
นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป
              2.3 วิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนแต่ละกลุ่ม 
                              2.3.1 รูปแบบ / วิธีการ / เทคนิคการนำเสนอ  
                                     - เน้นการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป
                                    
- ส่งเสริมให้ทุกคนที่เข้าไปใช้ห้องสมุดรักการอ่าน
                             2.3.2 วิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และกลุ่มผู้เรียน 
                                       - มีการย้ายสถานที่ตั้งใหม่ เพื่ออำนวยความสะดวกสบายแก่นักเรียนนักศึกษาและ 
                                       ประชาชน

                                    - ปรับปรุงและพัฒนาให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ตามอัธยาศัย
                              2.3.3 การเชื่อมโยงกับการศึกษา ในระบบ นอกระบบ ตามอัธยาศัย
                                    
1. จัดการศึกษาตามอัธยาศัย
                                   -  บริการหนังสือ และสื่อการเรียนรู้
                                   - บริการการอ่าน และส่งเสริมการอ่าน
                                     2.  ส่งเสริมการศึกษานอกระบบ
                                   - บริการสื่อการเรียนการสอนการศึกษานอกระบบ
                                   - บริการ สถานที่ ฯลฯ
                                3. ศูนย์ข้อมูลชุมชน
                                   - บริการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร
                                   - บริการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร
                                   - บริการข้อมูลแหล่งเรียนรู้

              2.4 กลุ่มเป้าหมาย/ผู้เรียน เรียนรู้เพื่ออะไร 
                              2.4.1 ความรู้ ความเข้าใจ
                                      มีหนังสือและสื่อการเรียนรู้ต่างๆบริการให้กับนักเรียน นักศึกษา และประชาชน
                              2.4.2 ทักษะ 
                                     รู้จักวิธีการค้นหาหนังสือที่ต้องการโดยให้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์
                              2.4.3 อาชีพ 
                                     เป็นแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้กับประชาชน
                              2.4.4 ความบันเทิง สันทนาการ
                                    ห้องสมุดมีหนังสือหมวดนวนิยาย ซึ่งเป็นหมวดที่ให้ความบันเทิงแก่ผู้อ่าน


แหล่งอ้างอิง  http://bangrakamnfe.blogspot.com/2013/05/blog-post_9099.html
                       http://map.longdo.com/p/A10007661/view#!/p/A10007661/info